วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

บทที่ 4 การใช้งานคอมพิวเตอร์


🍓การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น🍓
               1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอน ดังนี้
                       1) ตรวจสอบปลั๊กไฟว่าเสียบแน่น หรือเสียบปลั๊กไฟให้เรียบร้อย
                       2) กดปุ่มเปิดจอภาพ 🕛 ที่จอภาพ
                       3) กดปุ่มเปิดเครื่อง 🕛 ที่ตัวเครื่อง
               คอมพิวเตอร์จะเริ่มทำงาน รอจนกระทั้งคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ และปรากฏภาพที่กำหนดไว้ ซึ่งบริเวณหน้าจอเรียกว่า เดสก์ท็อป (Desktop) และปรากฏภาพสัญลักษณ์เล็กๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) หรือสัญรูปจึงจะเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ได้



                2. การใช้เมาส์
                เมาส์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้บังคับตัวชี้เมาส์ที่เรียกว่า เมาส์พอยเตอร์ (Mouse pointer) ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกษรสีขาวอยู่บนจอภาพ ให้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนขยับเมาส์ด้วยมือ


                การจับเมาส์ ควรปฏิบัติดังนี้
                1) ใช้มือข้างที่ถนัดจับเมาส์โดยใช้นิ้วชี้แลันิ้วกลางอยู่บนปุ่ม
                2) ใช้อุ้งมือบังคับให้เลื่อนไปมา

                 
                  การใช้เมาส์มี 5 ลักษณะ ดังนี้
                  1) การชี้เมาส์ เป็นการเลื่อนเมาส์โดยให้ตัวชี้เมาส์สัมผัสกับรายการที่ชี้ เมื่อชี้ไปที่รายการหรือไอคอนไดก็ตาม จะมีกล่องเล็กๆ พร้อมคำอธิบายรายการนั้นปรากฏขึ้น
                  2) การคลิกซ้าย เป็นการคลิกเมาส์ครั้งเดียวที่ปุ่มซ้ายเพื่อเลือกรายการใดรายการหนึ่งบนหน้าจอ
                  3) การคลิกเมาส์สองครั้ง หรือที่เราเรียกว่า ดับเบิ้ลคลิก เป็นการคลิกเมาส์ที่ปุ่มซ้ายสองครั้งติดกันอย่างรวดเร็ว ใช้เมื่อต้องการเปิดหน้าต่างโปรแกรม หรือไอคอนต่างๆบนหน้าจอ
                  4) การคลิกขวา เป็นการคลิกเมาส์ที่ปุ่มขวาหนึ่งครั้งที่รายการต่างๆ บนหน้าจอ เพื่อให้แสดงเมนูลัด หรือคำสั่งพิเศษที่สามารถทำได้กับรายการนั้น
                  5) การลาก เป็นการชี้เมาส์ไปที่รายการนั้น คลิกเมาส์ที่ปุ่มซ้ายค้างไว้แล้วลากรายการที่เลือกไปไว้บริเวณที่ต้องการแล้วปล่อย ใช้เมื่อต้องการย้ายรายการต่างๆบนหน้าจอ

                  3. การใช้งานแผงแป้นอักขระ
                   แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการพิมพ์ ลักษณะของแผงแป้นอักขระส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบหลักคล้ายกัน อาจมีแป้นพิเศษแตกต่างกันบ้างตามรุ่นและยี่ห้อ


                 แป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ แบ่งได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
                 1) แป้นตัวพิมพ์ (ตัวอักษรและตัวเลข) ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และแป้นสัญลัษณ์
                 2) แป้นควบคุม ประกอบด้วยแป้น Ctrl, Alt, Windows, Esc, Print Screen, Scroll Lock, Puase Break
                 3) แป้นฟังก์ชั่น ประกอบด้วยแป้น F1-F12
                 4) แป้นนำทาง ประกอบด้วยแป้นลูกศร, Home, End, Page up, Page down, Delete, Insert
                 5) แป้นพิมพ์ตัวเลข ประกอบด้วยแป้น 0-9
     
                 4. การใ้งานโปรแกรมเวิร์ดแพด (Word pad)
                  โปรแกรมเวิร์ดแพด เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างงานเอกสารในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้
                1) การเปิดโปรแกรมเวิร์ดแพด
                     (1) คลิกเมาส์ที่ปุ่มสตาร์ท ที่หน้าจอ
                     (2) คลิกเลือก All Programs
                     (3) คลิกเลือก Accessories
                     (4) คลิกเลือก WordPad จะปรากฏหน้าต่าง Document-WordPad
                 2) ส่วนประกอบของโปรแกรมเวิร์ดแพด โปรแกรมเวิร์ดแพดมีส่วนประกอบ ดังนี้

                      
                         (1) แถบหัวเรื่อง (Title Bar) แสดงชื่อไฟล์เอกสารและชื่อโปรแกรม
                         (2) ปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม และการปิดโปรแกรม
                               - ปุ่มมินิไมซ์ (Minimize button) ใช้ย่อขนาดหน้าต่างโปรแกรม
                               - ปุ่มแมกซิไมซ์ (Maximize Button) ใช้ขยายขนาดหน้าต่างโปรแกรม
                               - ปุ่มโคลส (Close) ใช้ปิดโปรแกรม
                         (3) แถบเมนู (Menu Bar) แสดงเมนูคำสั่งของโปรแกรม
                         (4) แถบเครื่องมือ (Tool Bar) แสดงเครื่องมือสำหรับเลือกใช้งานตามต้องการ เช่น


                     3) การพิมพ์ข้อความ พิมพ์ข้อความที่ต้องการโดยกดแป้นที่แผงแป้นอักขระ หากต้องการเปลี่ยนแบบตัวอักษร ควรปฏิบัติดังนี้
                         (1) คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากคลุมดำข้อความที่ต้องการเปลี่ยนแบบตัวอักษร
                         (2) เลือกแบบตัวอักษรที่ต้องการ
                     4) การบันทึกข้อมูลที่พิมพ์ เมื่อพิมพ์เอกสารเรียบร้อยแล้วควรบันทึกข้อมูลไว้ เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้งานได้อีก โดยปฏิบัติ ดังนี้
                         (1) คลิก File
                         (2) คลิกเลือกคำสั่ง Save As... จะปรากฏหน้าต่าง Save as
                         (3) ที่ Save in (บันทึกใน) ให้เลือกว่าจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด
                         (4) ที่ File Name (ชื่อไฟล์) ให้พิมพ์ชื่อไฟล์เอกสารที่ต้องการบันทึก
                         (5) คลิก Save เพื่อบันทึกข้อมูล
                         (6) การเปิดดูไฟล์เอกสารที่บันทึกแล้ว ให้คลิก File และเลือกคำสั่ง Open จากนั้นคลิกเลือกไฟล์เอกสารที่ต้องการ แล้วกด Open
                  
                  5. การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง
                   เราสามารถเปลี่ยนภาพพื้นหลังที่เดสก์ท็อป โดยปฏิบัติ ดังนี้
                          1) คลิกขวาที่เมาส์บริเวณเดสก์ท็อป เลือก Properties จะปรากฏหน้าต่าง Display Properties
                          2) คลิกเลือกป้าย Desktop จะมีชื่อภาพต่างๆ ให้เลือก โดยมีภาพตัวอย่างที่เลือกแสดงในจอ



                         3) คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเปลี่ยนภาพหน้าจอ จะได้ภาพที่ต้องการ



                     6. การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
                         1) ปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ให้เรียบร้อย
                         2) คลิกเมาส์ที่ปุ่ม สตาร์ท ที่มุมล่างซ้ายของจอภาพ
                         3) เลื่อนเมาส์ไปที่ Turn Off Computer แล้วคลิกเมาส์จะปรากฏหน้าต่าง Turn Off Computer
                         4) คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Turn Off คอมพิวเตอร์จะปิดตัวเอง จากนั้นจึงกดปุ่ม 🕛 ที่จอภาพ แล้วถอดปลั๊กไฟออกให้เรียบร้อย


🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑🍑

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์น่าเรียน


🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲🌲

🌹รู้จักคอมพิวเตอร์🌹
                   คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ และจดจำข้อมูล จำนวนมาก ในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปที่เราใช้งานกันที่บ้าน ที่โณงเรียน หรือที่สำนักงาน เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่  แบบตั้งโต๊ะ และแบบพกพา

🍎อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์🍎
                 คอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ที่ใช้งานทั่วไป ดังนี้
                 1. แผงแป้นอักขระ (Keyboard)
                             แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ใช้พิมพ์ข้อความ สัญลักษณ์ หรือตัวเลข เพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ




               2. เมาส์ (Mouse)
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ เพื่อเลือกคำสั่งการทำงาน หรือโปรแกรมให้นำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ


               3. ซีพียู (Central Processing Unit: CPU)  
          CPU เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ เพราะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ ประมวลผลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          การทำงานของ CPU แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                               1) ส่วนควบคุม ทำหน้าที่โดยควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น เมาส์ จอภาพ แผงแป้นอักขระ เป็นต้น
                               2) ส่วนคำนวณ ทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่บวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ

                      เคสแบบตั้ง                                                       เคสแบบนอน

                      

            CPU จะถูกบรรจุไว้ในกล่องสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆว่าตัวเครื่องหรือเคส (Case) ซึ่งมี 2 แบบ คือ แบบตั้ง และแบบนอน

                 4. จอภาพ (Monitor)
                 












                จอภาพ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องโทรทัศน์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลภาพ และข้อมูลตัวอักขระ





                 5. ลำโพง (Speaker)
                ลำโพง เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลเสียง เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ฟังขณะใช้งานคอมพิวเตอร์


                  6. เครื่องพิมพ์ (Printer) 
                เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อความ และรูปภาพลงบนกระดาษ เพื่อแสดงข้อมูล



🍏อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์🍏

               นอกจากอุปกรณ์พื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ก็ยังมีอุปกรณ์ทางเทคโนโ,ยีบางประเภทที่ต้องใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูล   ได้แก่
               1. แผ่นบันทึกซีดี (Compact Disc หรือ CD)
                          แผ่นบันทึกซีดีเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลภาพ ตัวอักษร และเสียง จากคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นบันทึกซีดีไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
                          เมื่อก่อนการจัดเก็บข้อมูลของแผ่นบันทึกซีดี ต้องทำงานผ่านโปรแกรมบันทึกข้อมูลเท่านั้น เช่น โปรแกรม Nero เป็นต้น แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ระบบปฏิบัติการวินโดว์บางรุ่น เช่น วินโดว์ 7 (Windows 7) เป็นต้น สามารถบันทึกข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูล
                 2. แฟลชไดรฟ์ (Flash drive)
                            แฟลชไดรฟ์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลภาพ ตัวอักษร และเสียง จากคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ในแฟลชไดรฟ์ไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ตลอดเวลา ทำให้สะดวกในการทำงาน การบันทึกข้อมูลในแฟลชไดรฟ์สามารถบันทึกได้ทันที


🍑ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์🍑
                    ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีหลักคล้ายคลึงกันกับระบบความคิดของคน คือ รับข้อมูลที่หน่วยรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ที่หน่วยประมวลผลข้อมูล และแสดงผลข้อมูลที่หน่วยแสดงผลข้อมูล

การเปรียบเทียบระบบความคิดของมนุษย์กับการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์                                                                           
               1.หน่วยรับข้อมูล นำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนี้
                             - เมาส์ รับข้อมูลโดยใช้มือคลิกที่ปุ่มบนเมาส์
                             - แผงแป้นอักขระ รับข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ โดยการพิมพ์ข้อมูล
                             - สแกนเนอร์ รับข้อมูลภาพ ตัวอักษร และตัวเลข โดยการสแกนข้อมูล
              2. หน่วยประมวลผลข้อมูล
                              ประมวลผลข้อมูลผ่านซีพียู และจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะบรรจุอยู่ในตัวเครื่องทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล
              3. หน่วยแสดงผลข้อมูล
                              นำผลลัพธ์จากการประมวลผล มาแสดงผ่านอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล ได้แก่
                              - จอภาพ แสดงข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และภาพ
                              - เครื่องพมพ์ แสดงข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และภาพ ลงในกระดาษ
                              - ลำโพง แสดงข้อมูลเสียง 

🍈ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์🍈
                 ปัจจุบัน เรานำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน นอกจากนี้ยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น


                  ด้านงานธุรกิจ บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบันชี งานเอกสาร เช่นธนาคารที่ใช้บริการถอนเงินจากตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ATM  และยังใช้คอมพิวเตอร์ คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชีเป็นต้น
                  ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ และด้านสาธารณสุข ยังสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาองค์ประกอบสารเคมี เป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น
                 ด้านการคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับกรเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา จองที่นั่ง ของรถโดยสารหรือเครื่องบิน ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร เป็นต้น


                   ด้านการศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด


                    ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
                    1. ประโยชน์ทางตรง
                        ช่วยให้คนทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงคนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการคำนวณ การพิมพ์เอกสาร การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ การบันทึกข้อมูล เป็นต้น


                   2. ประโยชน์ทางอ้อม
                       คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยให้สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความบันเทิง เช่นการเล่นเกม การฟังเพลง การดูภาพยนต์จากโปรแกรมต่างๆ หรือเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น เป็นต้น

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒


บทที่ 2 แหล่งข้อมูลน่ารู้


🌷แหล่งข้อมูล🌷
                    1. ความหมายของแหล่งข้อมูล
                                แหล่งข้อมูลเป็นแหล่งที่ให้รายละเอียดต่างๆ ของข้อมูล อาจเป็นสถานที่ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อาจเป็นบุคคล เช่น ครู คุณหมอ นักวิทยาศาสตร์ หรืออาจเป็นสิ่งต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น


                    2. ประเภทของแหล่งข้อมูล
                         แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการค้นหาข้อมูล ควรเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์ มีเหตุผล และมีการอ้างอิง เช่น การสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง และศึกษาในเรื่องนั้นๆ การค้นคว้าหรือสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานราชการ เป็นต้น
               แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
                    1) แหล่งข้อมูลชั้นต้น เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือการเก็บบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสอบถามหรือสัมภาษณ์เจ้าของข้อมูลโดยตรง การเดินทางไปดูสถานที่จริง แล้วบันทึกข้อมูลไว้เป็นต้น

               2) แหล่งข้อมูลชั้นรอง เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการอ่าน เช่น หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ ได้จากการฟัง เช่น วิทยุ เป็นต้น หรือได้จากการดูข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือบันทึกไว้แล้ว เช่น รายการสารคดีของสถานีโทรทัศน์ นิทรรศการต่างๆ เป็นต้น


                  3. แหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัว
                           ในชีวิตประจำวันของเรา สามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้จากแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัว ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน คุณครู เป็นต้น ซึ่งการรับรู้ข้อมูลที่เป็นบุคคลจะใช้วิธีการสอบถาม และการฟัง
                  2) แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่บุคคล อาจเป็นเอกสารต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม เป็นต้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


🐹🐹🐹🐹🐹🐹🐹🐹🐹🐹

🍆การรวบรวมข้อมูล🍆
                      การรวบรวมข้อมูล เป็นการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาเก็บรวบรวมไว้ ซึ่งทำได้โดยการสอบถาม การสังเกต หรือการอ่านจากข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว


                         1. วิธีรวบรวมข้อมูล
                              การรวบรวมข้อมูล มีวิธีการ ดังนี้
                                       1) การรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม เป็นการพูดคุย ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย อย่างมีจุดหมาย โดยฝ่ายที่ต้องการทราบข้อมูลเป็นผู้ถาม ผู้ให้ข้อมูลเป็นฝ่ายตอบ แล้วผู้ถามก็จะจดบันทึกข้อมูลที่ได้


                                              วิธีการสอบถามข้อมูล ผู้ถามควรปฏิบัติตนดังนี้
                                                           (1) พูดให้ชัดเจน ใช้ถ้อยคำสุภาพ
                                                           (2) ตั้งคำถามให้น่าสนใจ และถามให้ตรงประเด็น
                                                           (3) จดบันทึกคำตอบที่ได้ให้ครบถ้วน
                                         2) การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต เป็นการศึกษาให้ทราบถึงลักษณะของ คน สัตว์ พืช สถานที่ หรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องการทราบข้อมูล แล้วจดบันทึกข้อมูลที่สังเกตได้
                                               การสังเกตสิ่งต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล ผู้สังเกตุควรปฏิบัติตนดังนี้
                                                         (1) ตั้งใจสังเกตุโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และชัดเจนว่าจะ
                                                              สังเกตอะไรบ้าง
                                                         (2) จดบันทึกข้อมูลรายละเอียดต่างๆที่พบเห็นในระหว่างการ
                                                              สังเกต เพื่อป้องกันการลืม


                                             3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการอ่านข้อมูลจากหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ และดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือโทรทัศน์ แล้วจดบันทึกข้อมูลที่ได้


                         ในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรปฏิบัติตนดังนี้
                                      (1) ตั้งใจอ่านหรือดู
                                      (2) จดบันทึกรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงไว้ และเขียนบอกแหล่งที่มาของ
                                            ข้อมูล
                           2. การจัดการข้อมูลที่รวบรวมได้
                                       เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ควรจัดการข้อมูลที่ได้ ดังนี้
                                          1) ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล
                                          2) จำแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่
                                          3) จัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่และเป็นระเบียบ เพื่อให้สะดวกในการหยิบใช้งาน เช่น จัดเก็บใส่แฟ้มเอกสาร เก็บในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เก็บในแฟลชไดรฟ์ เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นต้น
                                          4) นำเสนอข้อมูล เช่น การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน การทำรายงาน การจัดป้ายนิเทศ เป็นต้น


🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬🍬

🍒ประโยชน์ของแหล่งข้อมูล🍒
                        แหล่งข้อมูลต่างๆ มีประโยชน์ดังนี้
                                       1) ใช้เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งที่เป็นความรู้ และความบันเทิง เช่น อ่านหังสือพิมพ์เพื่อให้ทราบข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน สอบถามข้อมูลเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวจากคุณพ่อ เป็นต้น
                                       2) ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงเรื่องต่างๆ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูล
                                       3) ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนที่เหมาะสม เช่น การดูใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์แล้วลดการใช้โทรศัพท์ลงเพื่อลดรายจ่าย เป็นต้น

🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉

🌻การรักษาแหล่งข้อมูล🌻
                      การรักษาแหล่งข้อมูล เป็นการรักษาสภาพของแหล่งข้อมูลให้คงอยู่ในสภาพดี ซึ่งปฏิบัติได้ดังนี้
                                      1) ไม่ขีดเขียนตามสิ่งของหรือสถานที่ต่างๆที่เป็นแหล่งข้อมูล แต่ควรช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการไม่ทิ้งขยะ การปัดฝุ่นทำความสะอาด เป็นต้น


                                      2) ปฏิบัติตามกฏระเบียบของการใช้แหล่งข้อมูลที่กำหนด เช่น ไม่นำขนมหรือน้ำวางไว้ใกล้คอมพิวเตอร์ เพราะอาหารหรือน้ำอาจหกเลอะเทอะ และทำความเสียหายแก่คอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น


                                    3) ไม่ทำให้แหล่งข้อมูลเกิดชำรุดเสียหาย เช่น ไม่ฉีกหนังสือ ไม่ทำลายป้ายประกาศต่างๆ เป็นต้น และเราควรซ่อมแซมแหล่งข้อมูลที่ชำรุด เช่นซ่อมแซมหนังสือที่ขาด เป็นต้น


🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦

...............................................................................................................................
ที่มา: ผกามาศ บุญเผือก.//หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.//เล่มที่ 1.//ครั้งที่ 3.//บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.



วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1 เรียนรู้ข้อมูล


🍎ข้อมูล🍎

                 ข้อมูลเป็นเรื่องราว หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือสิ่งต่างๆ ข้อมูลแต่ละประเภทมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 ความหมายของข้อมูล
               ในชีวิตประจำวัน เราสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ได้โดยการฟัง อ่าน ดู ชิมรสชาติ ดมกลิ่น หรือสัมผัส ผ่านทางอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งสิ่งต่างๆที่เรารับรู้ได้เหล่านี้ เรียกว่า ข้อมูล
ประเภทของข้อมูล
               ข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1)  ข้อมูลภาพ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่างๆที่เรามองเห็นได้ อาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพยนตร์ ภาพจากโทรทัศน์ เป็นต้น

                  2) ข้อมูลตัวอักขระ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาอื่นๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล ป้ายประาศต่างๆเป็นต้น ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข เช่น ทะเบียนบ้าน ทะบียนรถยนต์ บัตรประชาชน เป็นต้น


                 
                 3) ข้อมูลตัวเลข หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่เป็นตัวเลข เช่น ตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิก ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการคิดคำนวณได้ เช่น จำนวนเงิน คะแนนสอบของนักเรียน ราคาสินค้า น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น


                    4) ข้อมูลอื่นๆ เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลภาพ ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักขระ เช่น ข้อมูลรสชาติ ข้อมูลกลิ่น ข้อมูลเสียง ข้อมูลสี เป็นต้น


🍏ประโยชน์ของข้อมูล🍏
                     ข้อมูลมีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
                      1. ด้านการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
                                   เราสามารถใช้ข้อมูล ที่ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเราได้ และใช้พัฒนาตนเองให้ฉลาดรอบรู้อีกด้วย
                      2. ด้านการสื่อสาร
                                   เราสามารถใช้ข้อมูลที่มีในการสนทนา หรือสื่อสารกับผู้อื่นตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ เช่น
                                          🍓เมื่อเราทราบข้อมูลเรื่องกิจกรรมวันสุนทรภู่ จึงนำข้อมูลนั้นไปพูดคุยกับเพื่อนในชั้นเรียน
                                          🍓ครูมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน
                      3. ด้านการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหา
                                   ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ หรือแก้ปัญหา เราจำเป็นต้องทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น
                                           🍓เมื่อทราบผลสอบว่าเราได้คะแนนน้อย เราควรขยัน และตั้งใจเรียนให้มากขึ้น
                                           🍓เมื่อทราบราคาขายสินค้าที่เหมือนกันของร้านค้าทั้งสองร้าน ทำให้ตัดสินใจได้ว่าควรซื้อสินค้าที่ขายจากร้านที่ถูกกว่า เป็นต้น
                                      

               4. ด้านการประกอบอาชีพ
                                    เราสามารถนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพได้ เช่น
                                             🍑 เกษตรกรได้อ่านหนังสือพิมพ์พบวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี จึงนำวิธีการที่ได้มาทดลองใช้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
                                             🍑 พ่อค้าแม่ค้า ทราบความต้องการของลูกค้าจากการสอบถาม จึงนำข้อมูลที่ได้จากการสอบถามไปปรับปรุงสินค้า หรือบริการของตนให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ขายสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น


🐠🐠🐠🐠🐠🐠🐠🐠🐠

...............................................................................................................................
ที่มา: ผกามาศ บุญเผือก.//หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.//เล่มที่ 1.//ครั้งที่ 3.//บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อการศึกษา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้น ป.2
                       เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อแบ่งปันข้อมูลความรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับนักเรียนได้ค่ะ


 เจ้าของเว็บไซต์
นางสาวดวงดาว ติดใจดี
นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
⏩⏩⏩⏩⏩⏩⏩


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ป.2